ทำความรู้จักกับ 5 ชนิดของสายไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน นับว่าเป็นระบบที่สำคัญและใกล้ตัว โดยเฉพาะการเลือกใช้ ชนิดของสายไฟฟ้า ให้ถูกประเภทกับการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยต่อระบบไฟฟ้าหรือแม้แต่สมาชิกในบ้าน ซึ่งการเลือกใช้สายไฟแต่ละประเภท ก็จะมีข้อจำกัดและวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ 5 ชนิดของสายไฟ ฉบับเข้าใจง่าย เพื่อให้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สำหรับการเลือก ชนิดของสายไฟ ให้เหมาะสมในการใช้งานภายในอาคารหรือครัวเรือน ก่อนอื่นควรมาทำความรู้จักก่อนว่า สายไฟแต่ละชนิดทำงานอย่างไร และมีลักษณะแบบไหนบ้าน
- หน้าที่ของ “สายไฟฟ้า”
- ชนิดของสายไฟฟ้า ที่ควรรู้
- 5 ชนิดของสายไฟฟ้า สำหรับการใช้งานในบ้าน
- Tips น่ารู้ ระบบไฟและการเดินสายไฟในครัวเรือน
หน้าที่ของ “สายไฟฟ้า”
สำหรับ “สายไฟฟ้า” นับว่าเป็นตัวกลางสำหรับการนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ส่งไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างเช่น สายไฟคอนโทรล ก็จะเป็นประเภทที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม
- ตัวนำไฟฟ้า (Conductor)
มีทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ แต่มีค่าความนำไฟฟ้าสูง ทำจากโลหะ เช่น ทองแดง อะลูมิเนียม
- ฉนวนไฟฟ้า (Insulation)
ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าจาก ชนิดของสายไฟ ไหลไปยังส่วนอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว ซึ่งฉนวนจะทำจากยางหรือพลาสติกโพลิเมอร์ ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี และสามารถป้องกันของเหลวไหลผ่าน นิยมทำจากฉนวน PVC และ ฉนวน XLPE
- เปลือกนอก (Over Sheath)
พลาสติกโพลิเมอร์ ซึ่งจะอยู่นอกสุดของสายไฟฟ้า มีหน้าที่ป้องกัน ชนิดของสายไฟ จากสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การกระแทก รอยขูดขีด ความชื้น น้ำ หรือแม้แต่แสงแดด โดยวัสดุที่นิยมนำมาทำเปลือกนอก คือ PVC, PE และ LSHF
ชนิดของสายไฟฟ้า ที่ควรรู้
หากแยก ชนิดของสายไฟ ตามรูปแบบของสายไฟ เพื่อประกอบการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ สามารถแยกออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
-
สายไฟแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable)
- เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์
- ตัวสายไฟทำจากอะลูมิเนียม หรือทองแดง (ได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งในอาคาร หรือแม้แต่การติดตั้งใต้ดิน)
- ฉนวนที่ใช้กับ ชนิดของสายไฟ ประเภทนี้คือ PVC และ XLPE
-
สายไฟแรงดันสูง (Hight Voltage Power Cable)
- เป็นสายตีเกลียวที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่
- แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ แบบหุ้มฉนวน และแบบเปลือย
- สามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 1 – 36 กิโลโวลต์ (1,000 โวลต์ = 1 กิโลโวลต์)
5 ชนิดของสายไฟฟ้า สำหรับการใช้งานในบ้าน
- สายไฟ THW
สำหรับ ชนิดของ สายไฟ THW นี้ สามารถทนแรงดันได้ 750 โวลต์ ใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสปกติ นับว่าเหมาะสำหรับการใช้ภายในบ้าน
- สาย VAF
โดย ชนิดของสายไฟฟ้า VAF จะใช้สำหรับการเดินบนผนัง และเดินในช่องเดินสายไฟ ไม่ควรร้อยในท่อ หรือกลบฝังดินโดยเด็ดขาด ซึ่งสายไฟชนิดนี้สามารถทนแรงดันได้ 300 โวลต์ มีให้เลือกทั้งแบบสายเดี่ยว สายคู่ และชนิดที่มีสายดินอยู่ด้วย นอกจากนี้ ยังมีทั้งแบบ 2 แกน และ 3 แกน
- สายไฟ VCT, VCT-G
สายไฟชนิดนี้จะเป็นสายกลม มีทั้ง 1 แกน, 2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน ซึ่งเป็น ชนิดของสายไฟ ที่มีพิกัดแรงดันอยู่ที่ 450/750 โวลต์ โดยภายในสายไฟจะเป็นแบบฝอยเส้นเล็ก ๆ ที่รวมกัน ทำให้มีความอ่อนตัว และสามารถทนต่อการสั่นสะเทือนได้
ฉะนั้น ชนิดของ สายไฟ VCT จึงเหมาะสำหรับการต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสายเดินเข้าเครื่องจักร หรือการใช้สว่านไฟฟ้าในครัวเรือน และหากเป็นสาย VCT-G จะมีสายดินเดินเพิ่มเข้ามาอีกเส้นหนึ่ง ช่วยให้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดินได้
- สายไฟ IV
ชนิดของสายไฟ IV เป็นสายเดียวหรือแบบแกนเดี่ยว ที่ทนแรงดันไฟฟ้าได้ 300 โวลต์ เหมาะสำหรับการเดินสายเข้าบ้านหรืออาคารที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส โดยการใช้งานนั้น หากเดินสายลอยจะต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน แต่หากเดินสายในรางเก็บสายไฟ จะต้องเดินสายในพื้นที่ที่แห้ง ไม่ควรต่อสายลงดินอย่างเด็ดขาด
- สาย NYY, NYY-G
ชนิดของสายไฟ NYY เป็นสายไฟที่มีทั้งแบบแกนเดียวและหลายแกน ซึ่งตัวสายแกนจะเป็นสายชนิดกลม โดยตัวสายไฟมีพิกัดแรงดันอยู่ที่ 450/750 โวลต์ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เนื่องจากตัวสายมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง บางคนอาจจะเรียก ชนิดของสายไฟ นี้ว่า สายฉนวน 3 ชั้น แต่ในความเป็นจริงก็คือ มีฉนวนเพียง 1 ชั้น และอีก 2 ชั้น เป็นเปลือกชั้นใน ที่คอยทำหน้าที่ตีเกลียวของสายแต่ละแกนให้เข้าด้วยกันเป็นทรงกลม
อนึ่ง ข้อจำกัดของสายไฟชนิดนี้ ก็คือ มีความอ่อนตัวน้อยกว่าสายไฟแบบ VCT ดังนั้น จึงทำให้เหมาะกับการใช้ภายในบ้างโดยการวางบนรางสายไฟ การร้อยในท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรงได้เลย
สาระน่ารู้ : สายไฟ CV นับว่าเป็น ชนิดของสายไฟฟ้า หุ้มฉนวน PE ซึ่งเป็นชนิดที่อยู่นอกมาตรฐานของ มอก. แต่เป็นสายไฟที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC ซึ่งตัวฉนวนสามารถรองรับอุณหภูมิได้ถึง 90 องศาเซลเซียส สามารถติดตั้งได้หลายแบบ เช่น เดินในรางเดินสาย เดินลอยในอากาศ หรือแม้แต่ร้อยท่อฝังดิน
Tips น่ารู้ ระบบไฟและการเดินสายไฟในครัวเรือน
- การใช้สายเมน
ถือว่าเป็นหัวใจหลักของระบบไฟฟ้า เนื่องจากเป็น ชนิดของสายไฟ ที่เดินจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาที่แผงเมนสวิตช์ หรือก็คือตู้เมนไฟฟ้าของบ้าน โดยการติดตั้งสายเมนจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
- สายเมนที่เลือกใช้ ควรเป็นชนิดที่ใช้สายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน
- มีขนาดที่เพียงพอต่อการโหลดรวมของทุกวงจร เช่น มิเตอร์ 15 (45)A สายเมนไม่ควรต่ำกว่า 10 ตร.มม.
- ตัวนำสายเมน จะต้องรองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 25 เท่า ของการโหลดสูงสุดจากมิเตอร์ไฟฟ้า
- การติดตั้งสายดิน
- ขนาดของสายดินที่ต่อเข้าปลั๊กเต้ารับและอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเลือกจากขนาดของเบรกเกอร์ในวงจร
- สายดินที่ใช้ในระบบไฟฟ้า จะต้องเป็นสายไฟฟ้าชนิดแกนเดียว
- ภายในอาคารเดียวกัน หรือบ้าน 1 หลัง ควรต่อสายลงดินเพียง 1 จุด ไม่ควรมากกว่านี้
- ไม่ควรใช้ระบบไฟ 220 โวลต์ กับเซอร์กินเบรกเกอร์ชนิด 120/240 โวลต์
- ในกรณีที่เดินสายไฟในท่อโลหะ จะต้องทำการเดินสายดินรวมในท่อเส้นนั้น ๆ ด้วย
- การติดตั้งสวิตช์ และเต้ารับ ควรติดตั้งให้สูงมากกว่าระดับน้ำที่อาจท่วมได้
- วงจรสายไฟย่อย
ในกรณีที่บ้านเคยเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมมาก่อน การติดตั้งเต้ารับที่อยู่ชั้น 1 หรือชั้นล่างของบ้าน ควรใช้เครื่องตัดไฟรั่ว หรือตัวกันดูด เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดในกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม และสายไฟที่ใช้สำหรับวงจรย่อยจะต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 25 ตร.มม.
- ประเภทของบ้าน
- บ้านชั้นเดียว แนะนำว่าให้ติดตั้งตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้าให้อยู่ในที่สูงประมาณ 6 เมตร
- บ้าน 2 ชั้น ควรแยกตู้ควบคุมวงจรไว้ที่ชั้น 2 ของบ้าน และควรแยกวงจรสายไฟย่อยอย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร
สำหรับ ชนิดของสายไฟฟ้า ทั้ง 5 ชนิด ที่เรานำมาอธิบายในข้างต้น นอกจากจะช่วยทำให้คุณสามารถเลือกสายไฟสำหรับใช้งานในบ้านได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ยังช่วยให้รู้ว่าหน้าที่ ชนิดของสายไฟ แต่ละแบบ ทำงานอย่างไรบ้าง แล้วควรเดินสายไฟแบบไหนถึงจะดีที่สุด เพื่อให้ปลอดภัยทั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึงการใช้ไฟฟ้าของสมาชิกในครอบครัว