การเลือกใช้ ท่อร้อยสายไฟ นอกเหนือจากการเลือกประเภทของท่อให้เหมาะสมกับงานระบบไฟฟ้า หรือจุดที่ต้องการติดตั้งแล้ว สิ่งสำคัญคือ คุณจะต้องรู้ไปถึงวิธีการเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้ตรงตามความต้องการ และที่สำคัญคือ การจะเลือก ท่อร้อยสายไฟยี่ห้อไหนดี ที่สุดนั้น โดยหลักการเบื้องต้นแล้ว ต้องเลือกใช้สินค้าที่ผ่านมาตรฐานเท่านั้น

          การเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนหรือประเภทใด คุณจะต้องรู้ว่าการเลือกท่อร้อยสายไฟมีวิธีการอย่างไรบ้าง

  1. ทำความรู้จัก ท่อร้อยสายไฟแบบพลาสติก vs แบบโลหะ
  2. เทคนิคง่าย ๆ เลือก ท่อร้อยสายไฟ ให้ได้คุณภาพ
  3. แนะนำท่อร้อยสายไฟแบรนด์ดัง มีคุณภาพ ใช้แล้วทนทาน

ทำความรู้จัก ท่อร้อยสายไฟ แบบพลาสติก vs แบบโลหะ

          สำหรับท่อร้อยสายไฟที่วางจำหน่ายในท้องตลาดขณะนี้ จะมีทั้งหมด 2 ประเภทหลัก ๆ คือ แบบโลหะและแบบพลาสติก ซึ่งทั้งสองแบบนี้จะมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

  1. ท่อรอยสายไฟประเภทพลาสติก

  • PVC มีความทนทานต่อความชื้นได้ดี ไม่เกิดปัญหาสนิม ท่อสีเหลืองเน้นการเดินฝังบนผนัง ส่วนสีขาวนิยมใช้กับการเดินลอยหรือร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์
  • HDPF เป็นท่อที่ค่อนข้างอ่อนตัว น้ำหนักเบา นิยมใช้กับพื้นที่ที่ไม่เรียบหรือสม่ำเสมอกัน
  • EFLEX ทำจากพลาสติกประเภท PA และ PE มีคุณสมบัติเด่นคือ โค้งงอได้ดี และไม่ลามไฟ
  1. ท่อร้อยสายไฟประเภทโลหะ

  • ท่อโลหะขนาดบาง (EMT) ใช้เดินลอยในอาคารหรือซ่อนในฝ้า ห้ามฝังดินหรือฝังในผนังคอนกรีต
  • ท่อโลหะขนาดกลาง (IMC) นิยมใช้ในการฝังผนังหรือเดินลอยนอกอาคาร
  • ท่อโลหะหนาพิเศษ (RSC) ติดตั้งเหมือนกับท่อโลหะขนาดกลาง แต่มีขนาดใหญ่กว่า
  • ท่อโลหะอ่อน รองรับการโค้งงอได้ แต่ป้องกันของเหลวไม่ดี นิยมใช้ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ หรือท่อโลหะอ่อนที่ถูกหุ้มด้วยพลาสติก PVC ทำให้กันน้ำได้ นิยมใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งในจุดที่มีความชื้น

เทคนิคง่าย ๆ เลือก ท่อร้อยสายไฟ ให้ได้คุณภาพ  

          สำหรับการเลือกใช้ ท่อร้อยสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นประเภทพลาสติกหรือท่อแบบโลหะ ก็ต้องมีเทคนิคหรือหลักการในการเลือกใช้ด้วยเช่นกันฃ

  1. พื้นที่ที่ต้องการติดตั้งท่อร้อยสายไฟ

          ก่อนจะเลือกใช้ ท่อร้อยสายไฟ ต้องดูว่ามีความต้องการติดตั้งในจุดไหนในงานระบบไฟฟ้า เพื่อให้กำหนดได้ว่าควรเลือกใช้ท่อประเภทไหน เช่น หากต้องการเดินท่อร้อยสายไฟนอกอาคาร ที่มีโอกาสเผชิญกับรังสี UV ก็ควรเลือกท่อโลหะที่ไม่มีการหุ้มด้วยพลาสติก PVC เช่น ท่อโลหะขนาดกลางหรือท่อโลหะหนาพิเศษ ที่เหมาะสำหรับการติดตั้งนอกอาคารโดยเฉพาะ

  1. จำนวนสายไฟที่ต้องการใช้ในท่อร้อยสายไฟ

          ในการใช้ท่อร้อยสายไฟในงานระบบไฟฟ้า สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการเลือกท่อร้อยสายไฟให้ตรงตามประเภทหรือจุดที่ติดตั้งแล้ว ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมระหว่างจำนวนสายไฟ และขนาดของท่อร้อยสายไฟในแต่ละวงจร

          ฉะนั้น หากเป็นวงจรที่มีสายไฟค่อนข้างเยอะ ก็ควรเลือกใช้ท่อที่มีขนาดใหญ่ และรองรับสายไฟในแต่ละจุดได้ นอกจากนี้ ในการติดตั้งท่อร้อยสายไฟที่ต้องดัดท่อ ต้องดัดให้ได้รูปทรงที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสายไฟด้วยเช่นกัน

  1. เลือกสายไฟให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด

          ในการเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟแต่ละชนิด จะมีมาตรฐานที่กำหนดชัดเจน รวมถึงการสังเกตสีตัวอักษรของท่อร้อยสายไฟ ที่ถูกกำหนดตามมาตรฐาน อาทิ

  • ท่อโลหะขนาดบาง (EMT) กำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวระบุชนิดและขนาดของท่อร้อยสายไฟ
  • ท่อโลหะขนาดกลาง (IMC) กำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีส้ม (บางชนิดอาจเห็นเป็นสีแดง) เพื่อระบุชนิดและขนาดของท่อ
  • ท่อโลหะหนาพิเศษ (RSC) ท่อโลหะหนาพิเศษ กำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีดำเพื่อระบุชนิดและขนาดของท่อ

Tips: การใช้สายไฟภายในท่อร้อยไฟฟ้า จะมีการกำหนดตามขนาดพื้นที่หน้าตัดของสายไฟฟ้าในหน่วยมิลลิเมตร พร้อมระบุขนาดของท่อร้อยสายไฟฟ้าว่า ควรมีขนาดเท่าไหร่ต่อพื้นที่หน้าตัดของสายไฟฟ้า

ท่อร้อยสายไฟ-แบบไหนดี

แนะนำท่อร้อยสายไฟแบรนด์ดัง มีคุณภาพ ใช้แล้วทนทาน

  1. ท่อร้อยสายไฟ Arrow Pipe

          เป็นท่อร้อยสายไฟชนิดโลหะ หรือก็คือท่อเหล็กร้อยสายไฟ ซึ่งเป็นสินค้าที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ทันสมัย ใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีที่ดีและใหม่ล่าสุด นั่นก็คือ Solid State Welders จึงส่งผลให้เป็นท่อร้อยสายไฟที่มีความแข็งแรงและทนทานสูง สามารถรองรับการโค้งงอได้ดี 

          นอกจากนี้ ตัวท่อร้อยสายไฟยังได้รับการชุบด้วยสังกะสีทั้งภายในและภายนอก ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Hot-Dip Galvanized ช่วยให้ป้องกันการเกิดปัญหาสนิมได้ และยังทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี โดยมีให้เลือกทั้งแบบ EMT, IMC, EFT และ RSC 

     2. ท่อร้อยสายไฟ Union 

        โดยท่อเหล็กร้อยสายไฟ Union ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่น่าจับตามอง เพราะเป็นท่อที่ถูกผลิตจากกระบวนการที่ใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ด้วยเทคโนโลยี Solid State Welders เหมือนกับของ Arrow Pipe รวมถึงการชุบด้วยสังกะสีจากกระบวนการ Hot-Dip Galvanized เช่นเดียวกัน จึงทำให้ตัวท่อร้อยสายไฟมีความทนทานและป้องกันการเกิดปัญหาจากสนิมและการกัดกร่อนได้ดีไม่แพ้กัน และยังช่วยเรื่องการติดตั้งและการร้อยสายไฟ เพราะมีความลื่นภายในท่อร้อยสายไฟนั่นเอง 

          นอกจากนี้ ผิวชั้นนอกก็ยังถูกเคลือบด้วยสารป้องกันพิเศษหรือที่เรียกว่า Protective Coating เพิ่มความทนทานได้มากขึ้น ที่สำคัญคือ ตัวท่อใช้เหล็กคุณภาพสูงอย่าง Mild Steel จึงเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการใช้งานและการดัดที่ง่ายมากขึ้นในการติดตั้ง 

          อย่างไรก็ตามท่อร้อยสายไฟ ที่มีจำหน่ายในเมืองไทยไม่ได้มีเพียงแค่ 4 ยี่ห้อหลัก ๆ ที่เราแนะนำเท่านั้น เพราะการจะเลือก ท่อร้อยสายไฟยี่ห้อไหนดี จะต้องดูองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างประกอบกัน แต่ที่สำคัญคือ การติดตั้งที่ตรงตามมาตรฐานงานเดินสายไฟฟ้าทั่วไป ตามที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนด อาทิ ห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนที่มีขนาดเล็กกว่า 15 มิลลิเมตร ยกเว้นท่อโลหะอ่อนที่ประกอบมากับขั้วหลอดไฟ หรือแม้แต่การทำมุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายต้องรวมกันแล้วไม่เกิน 360 องศา สำหรับการเดินสายในท่อโลหะหนา เป็นต้น