อุปกรณ์ไฟฟ้า-มัลติมิเตอร์

การเลือกใช้งาน อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ถูกต้อง

“ไฟฟ้า” นับว่าเป็นระบบที่จำเป็นสำหรับที่พักอาศัย ซึ่งในการทำงานเกี่ยวกับระบบไฟก็มี อุปกรณ์ไฟฟ้า หลากหลายชนิด ที่นอกจากจะช่วยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานได้แล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้มากขึ้น โดยในวันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า ตลอดจน อุปกรณ์ต่อสายไฟ ภายในบ้าน ว่ามีอะไรบ้างที่ควรซื้อมาติดบ้าน แล้วมีมาตรฐานของอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าอะไรบ้างที่ควรรู้จัก

สำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าเพื่อใช้ในงานระบบไฟ สิ่งสำคัญคือ การเลือกใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้องตามคุณสมบัติ รวมถึงวิธีการใช้งานที่เหมาะสม

  1. การเลือกใช้งาน อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ถูกต้อง
  2. รวม 7 อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์งานช่างไฟ ที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น
  3. สาระน่ารู้ มาตรฐานของอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า

การเลือกใช้งาน อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ถูกต้อง

หลักการสำคัญของระบบไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย สิ่งสำคัญก็คือ การเลือกใช้ อุปกรณ์ต่อสายไฟ ให้ถูกต้องตามลักษณะของการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ ความเหมาะสมต่อการติดตั้ง และความถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งหลักการคำนึงหลัก ๆ คือ การทำงานของอุปกรณ์ชนิดนั้น ๆ การใช้งาน สถานที่ที่ใช้ สภาพแวดล้อมโดยรวม ภูมิอากาศ และที่ขาดไม่ได้คือ ประโยชน์จากการใช้งาน เช่น การเลือกใช้ สายไฟ ต้องดูตั้งแต่พิกัดแรงดัน พิกัดกระแส แรงดันตก รวมถึงสายควบ ไม่ใช่แค่การเลือกซื้อตามชนิดของสายไฟฟ้าเท่านั้น

รวม 7 อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์งานช่างไฟ ที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น

  1. คีมชนิดต่าง ๆ

ในบรรดางานระบบไฟฟ้า “คีม” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานร่วมกับ อุปกรณ์ต่อสายไฟ ง่ายมากขึ้น ซึ่งคีมที่ใช้งานในงานไฟฟ้าก็มีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น

    • คีมปากแหลม หรือคีมปากจิ้งจก ตัวปากคีมมีลักษณะเรียวแหลม เหมาะสำหรับจับโลหะ และ สายไฟ
    • คีมปากจระเข้ สามารถใช้ได้ทั้งการจับชิ้นงานและตัดสายไฟได้ดี
    • คีมย้ำหัว ช่วยย้ำสายไฟ สายลวด และสายสัญญาณ เพื่อบีบวัสดุให้เปลี่ยนรูปไปตามทรงของคีม
    • คีมปอกสาย ถูกออกแบบมาให้ปอกฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มลวดทองแดง โดยจะตัดเฉพาะฉนวนพลาสติก
  1. มัลติมิเตอร์ (Multimeters)

เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถตั้งเป็นหน่วยโวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ หรือโอห์มมิเตอร์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกได้ระหว่างไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งในบางชนิดก็วัดค่าอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ อาทิ วัดค่าความจุ วัดความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์

โดยการแสดงผลของมัลติมิเตอร์ จะแยกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม และมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (ดิจิตอล) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีรายละเอียดการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงความแม่นยำของการอ่านค่าด้วยเช่นกัน

สำหรับเทคนิคการเลือกมัลติมิเตอร์ มีดังต่อไปนี้

  • มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดไฟฟ้า โดยต้องตรงกับประเภทในการใช้งาน
  • การวัดค่าเหมาะกับมัลติมิเตอร์แบบไหน คือ TURE RMS หรือ MEAN
  • Resolution และ Accuracy ที่จะบอกว่ามัลติมิเตอร์เครื่องนั้นมีความละเอียดและแม่นยำมากน้อยแค่ไหน
  • จำนวนหลักของการแสดงผล
  • ช่วงของการวัด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากการทำงาน
  • ฟังก์ชันในการทำงานที่ตอบสนองการใช้งาน และเหมาะสมกับ อุปกรณ์ต่อสายไฟ

Tips: แคลมป์มิเตอร์ เป็น อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์วัดค่าไฟฟ้าของสายไฟตามจุดต่าง ๆ สามารถอ่านค่าได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เนื่องจากได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น

  1. หัวแร้งบัดกรีไฟฟ้า

เมื่อต้องทำงาน “บัดกรี” หรือก็คือ การเชื่อมวัสดุหรือโลหะเข้าด้วยกัน โดยนิยมใช้ดีบุกและตะกั่วเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหัวแร้งบัดกรีโดยทั่วไปที่นิยมใช้ คือ

  • หัวแร้งปืน เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความร้อนมาก ๆ เช่น การบัดกรีสายไฟกับ อุปกรณ์ต่อสายไฟ
  • หัวแร้งแช่ เป็น อุปกรณ์ต่อสายไฟ ที่เหมาะกับงานบัดกรีอุปกรณ์บนแผงวงจรพิมพ์ หรืองานประกอบวงจรที่มีความร้อนคงที่ มีหลากหลายขนาดให้เลือก
  1. สว่าน

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในงานช่างและงานไฟฟ้า โดยทำหน้าที่เจาะรูเพื่อเดินสายไฟและยึด อุปกรณ์ต่อสายไฟ ซึ่งสว่านสามารถใช้ได้ทั้งกับไม้และผนังปูน แต่ก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งาน ทั้งนี้ การเจาะรูจะต้องเจาะในแนวตั้งฉากกับชิ้นงาน หากต้องการเจาะรูขนาดใหญ่ก็ควรใช้ดอกสว่านเล็กก่อน แล้วค่อยใช้ดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกระดับ

  1. ฟิวส์

นับว่าเป็นอีกหนึ่ง อุปกรณ์ต่อสายไฟ ที่มีความสำคัญสูงในบ้านเรือน เพราะฟิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลเกิน จนอาจก่อให้เกิดอันตรายและส่งผลกระทบต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งตัวฟิวส์จะทำการหลอมละลายจนขาด จึงทำให้สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในครัวเรือนได้ทันที

สำหรับฟิวส์แต่ละชนิดก็จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป คือ

  • ฟิวส์เส้น มีลักษณะเป็นเส้นลวด นิยมใช้กับสายไฟในอาคารบ้านเรือน
  • ฟิวส์แผ่น เป็นแผ่นโลหะผสม มีขอเกี่ยวที่ทำจากทองแดง นิยมใช้กับอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน
  • ฟิวส์กระเบื้อง มีลักษณะเป็นเส้นฟิวส์อยู่ภายในกระปุกกระเบื้อง นิยมใช้ติดตั้งที่แผงควบคุมไฟฟ้า
  • ฟิวส์หลอด มีขนาดเล็ก ๆ ในหลอดแก้ว นิยมใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์
  1. ไขควงและไขควงวัดไฟ

“ไขควง” นับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการขันสกรู ต่อฟิวส์ ใส่สวิตช์ ในขณะที่ไขควงวัดไฟช่วยตรวจเช็กกระแสไฟ หรือก็คือการตรวจสภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ซึ่งการทำงานของไขควงไฟฟ้าคือ หากนำไขควงไปแตะที่ อุปกรณ์ต่อสายไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วมีแสงสว่างขึ้นมา ก็แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น ๆ มีปัญหาไฟรั่ว ดังนั้น ต้องถอดปลั๊กออกแล้วติดต่อช่างทันที  

โดยการใช้งานไขควงควรจำไว้เสมอว่า ห้ามใช้ไขควงแทนค้อนโดยเด็ดขาด และต้องใช้ไขควงที่มีด้ามจับเป็นฉนวน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

  1. เบรกเกอร์

ถือว่าเป็น อุปกรณ์ต่อสายไฟ ที่ทุกบ้านควรมี เนื่องจากเบรกเกอร์จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าลัดวงจร และกระแสไฟฟ้าสูงผิดปกติ เมื่อเบรกเกอร์ทำการตัดกระแสไฟฟ้าแล้ว เราจะต้องทำการกดเบรกเกอร์ใหม่เพื่อให้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อีกครั้ง

Tips: สำหรับบางบ้าน อาจเพิ่มเครื่องตัดไฟรั่วเข้ามาด้วย เพื่อเสริมความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้น และป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

อุปกรณ์ไฟฟ้า-สว่านไฟฟ้า

สาระน่ารู้ มาตรฐานของอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า

                  ก่อนตัดสินใจเลือกใช้  อุปกรณ์ต่อสายไฟ และ อุปกรณ์ไฟฟ้า ชนิดใด ๆ ก็ตาม สิ่งสำคัญคือ การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานภายในครัวเรือน ซึ่งมาตรฐานของอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 มาตรฐาน ได้แก่

  1. มาตรฐานสากล
  • ISO เป็นมาตรฐานทั่ว ๆ ไปของทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • IEC เป็นมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยการันตีว่า อุปกรณ์ต่อสายไฟ และอุปกรณ์ต่าง ๆ มีมาตรฐานการออกแบบ การผลิต และการใช้งานที่เป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่
  1. มาตรฐานประจำชาติ
  • สหรัฐอเมริกา ได้แก่ ANSI และ NEC (เป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบ อุปกรณ์ต่อสายไฟ ที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย)
  • สหราชอาณาจักรอังกฤษ คือ BS
  • ประเทศเยอรมนี คือ DIN และ VDE
  • ประเทศญี่ปุ่น คือ JIS
  • ประเทศไทย คือ YIS (มอก.) และ EIT (วสท.)
  1. มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน

                  เป็นการนำเอามาตรฐานสากล และมาตรฐานประจำชาติต่าง ๆ มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน เช่น มาตรฐานของ อุปกรณ์ต่อสายไฟ และการติดตั้งในประเทศไทย โดยส่วนมากจะใช้ตาม NEC และนำมาตรฐานของ IEC มาใช้ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้ง 7 ชนิด ดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ช่วยเรื่องการทำงานของระบบไฟฟ้าภายในอาคารและบ้านเรือนโดยคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะยังมี อุปกรณ์ต่อสายไฟ ตลอดจนอุปกรณ์ในการใช้งานอีกหลากหลายชนิดที่จำเป็นต่อระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์ใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ การเลือกซื้ออุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และมีมาตรฐานรองรับเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนั่นเอง